top of page
รูปภาพนักเขียนthiptida

แมลงมีพิษที่มากับสายฝน

คงจะคุ้นหน้ากันดีกับเจ้าตัวร้ายที่มาพร้อมกับหน้าฝนอยู่บ่อยๆ กับเจ้า ด้วงก้นกระดก (Rove beetle) ซึ่งจะหลายคนที่เคยสัมผัสโดนแต่ไม่เป็นอันตราย อาจเข้าใจผิดว่าแมลงชนิดนี้ไม่มีอันตรายมาก



แท้จริงแล้วด้วงก้นกระดกจะมีสารพิษชื่อว่า พีเดอริน (Paederin) ที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนสามารถทำลายเซลล์เนื้อเยื่อผิวหนังได้ ด้วง 1 ตัว จะมีสารพิษอยู่ในตัวประมาณร้อยละ 0.025 ของน้ำหนักตัว






โดยเพศเมียจะมีปริมาณสารมากกว่าเพศผู้มาก ทำให้ผู้ที่สัมผัสเพศผู้ไม่ค่อยมีอาการเนื่องจากมีสารพิษจำนวนน้อย แต่หากสัมผัสเพศเมียจะมีอาการรุนแรงตามปริมาณสารพิษที่ได้รับ






ลักษณะอาการ


อาการผิวหนังอักเสบจากด้วงก้นกระดก มักเกิดจากแมลงมาเกาะตามร่างกายแล้วเผลอปัด หรือบีบให้ท้องแมลงแตกและสัมผัสกับสารพิษพีเดอริน โดยอาการจะไม่เกิดขึ้นทันที แต่จะมีอาการหลังสัมผัส 8-12 ชั่วโมง ลักษณะผื่นแดงหรือรอยไหม้มักเป็นทางยาว (ทิศทางตามรอยปัด) ผื่นมีขอบชัดเจน 2-3 วัน ต่อมาจะมีจะมีตุ่มน้ำพองใสและตุ่มหนองขนาดเล็ก อาการคันมีไม่มากแต่จะมีอาการแสบร้อนร่วมด้วย ถ้าเกิดในบริเวณข้อพับต่างๆ สารพิษพีเดอรินจะกระจายไปสัมผัสทั้งสองด้าน ทำให้เกิดลักษณะคล้ายกันในแต่ละด้าน


การรักษาและการป้องกัน

เมื่อสัมผัสแมลงก้นกระดกและสารพิษพีเดอริน ให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด ฟอกสยู่ หรือเช็ดด้วยแอมโมเนีย หากอาการไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์


การป้องกันทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสแมลง ปิดประตู หน้าต่างให้มิดชิดก่อนฟ้ามืด เพื่อป้องกันแมลงบินตามแสงไฟเข้ามาในบ้าน หรือเปลี่ยนหลอดไฟเป็นสีเหลืองแทนสีขาว หากพบแมลงชนิดนี้ชุกชุมบริเวณที่พักอาศัย ให้ตวรจหาและกำจัดแหล่งที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงก้นกระดก เช่น บริเวณใกล้แหล่งน้ำ นาข้าว หรือตามพงหญ้า


เขียนโดย นางสาวทิพย์ธิดา กาสี

ดู 3,428 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page