top of page
รูปภาพนักเขียนNarin Chomphuphuang

การทำฟาร์มแมลงสวยงามที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพื่อการส่งออก

โครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2562 ซึ่งเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นสู่ชุมชนในรูปแบบโครงการการฝึกอบรมเรื่อง

มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้สนใจได้รู้จักชนิดของแมลงสวยงามที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ และแนวทางวิธีการเพาะเลี้ยง จัดทำฟาร์ม เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพเลี้ยงแมลงสวยงาม ตลอดจนวิธีการส่งออกแมลงสวยงามไปยังตลาดต่างประเทศ กำหนดการ 1 วัน ได้ดำเนินการในวันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธุ์ 2562 ณ ศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 2 อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น โดยได้รับความอนุเคราะห์จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ทำให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ โครงการนี้ได้รับความสนใจมาก มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 51 คน การฝึกอบรมมีทั้งการบรรยายทางวิชาการจากวิทยากรในหัวขอต่างๆ ได้แก่ บทบาทความสำคัญของผีเสื้อกลางวันและการใช้ประโยชน์จากแมลงเศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคต ตลาดการซื้อขายดักแด้ วงจรชีวิตของผีเสื้อกลางวันและพืชอาหารของตัวหนอน การทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากขี้หนอน ขั้นตอนการขอใบอนุญาตเพื่อส่งแมลงออกไปต่างประเทศ และการฝึกปฏิบัติโดยให้ผู้ร่วมอบรมทำกิจกรรมโดยแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มฝึกปฏิบัติกิจกรรมในฐานต่างๆ 4 ฐาน ได้แก่ ฐานที่ 1 การเลี้ยงหนอนวัยอนุบาล ฐานที่ 2 การเลี้ยงหนอนวัยหนุ่มสาว ฐานที่ 3 การดูแลดักแด้ และ ฐานที่ 4 การบรรจุภัณฑ์ดักแด้เพื่อการส่งออก ผลจากการประเมินของผู้รับฝึกอบรมพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ดีมาก ผู้รับการฝึกอบรมได้ความรู้ความเข้าใจและสนใจเกี่ยวกับการทำฟาร์มแมลงสวยงามที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพื่อการส่งออก และสามารถจะนำไปพัฒนาเป็นอาชีพได้ และอยากให้มีการจัดอบรมเกี่ยวกับแมลงชนิดอื่นๆ ที่สามารถนำมาสร้างอาชีพได้อีก

ดู 181 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page